วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ นายธนพล ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว TTAA มอบหมายให้นางสาวทัศนีย์ เกียรติกำจรชัย เลขาธิการสมาคมฯ เป็นตัวแทนเข้าร่วมงานแถลงข่าวสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยปี ๒๕๖๒ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไตรมาส ๒/๒๕๖๒ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคาดการณ์ถึงสถานการณ์ท่องเที่ยวที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในไตรมาสที่ ๒ ปี ๒๕๖๒ นี้ เป็นผลการสำรวจในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ ๓/๒๕๖๒ ตลอดจนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี ๒๕๖๒
โดยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอลงจากสงครามการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าต่างๆ ทั้งจีนและเม็กซิโก ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศและการลงทุน โดยในระยะสั้นเริ่มเห็นการส่งออกสินค้าของประเทศกลุ่มเอเชียหดตัวสูงโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนสมาร์ทโฟน เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในไตรมาส ๑/๒๕๖๒ ขยายตัวร้อยละ ๒.๘ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง ตามการส่งออกสินค้าที่กลับมาหดตัว ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศยังขยายตัวได้แต่มีแนวโน้มชะลอลงในช่วงที่ยังรอการจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ดี ยังประเมินว่ารายรับภาคการท่องเที่ยวในปีนี้ยังคงขยายตัวและไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากนัก ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ผ่านมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ รวมถึงมีมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวเพิ่มเติมที่สำคัญได้แก่ การขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า (visa on arrival) ออกไปเพิ่มเติมอีก ๖ เดือน และการอนุญาตให้นำค่าใช้จ่ายเมืองหลักเมืองรองมาลดหย่อนภาษี อัตราแลกเปลี่ยนทรงตัว อัตราเงินเฟอทั่วไปปรับสูงขึ้น ตามราคาผักและผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง รวมถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น และราคาคาโดยสารสาธารณะที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาเนื้อสัตว์ที่อาจสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาขาดแคลนเนื้อหมูในจีนหลังเกิดโรคระบาดส่งผลให้จีนมีการเร่งนำเข้าค่อนข้างมาก
ส่วนการสำรวจความเห็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในไตรมาสที่ ๒/๒๕๖๒ อยู่ที่ ๑๐๐เท่ากับคาดการณ์ไว้จากไตรมาสก่อน สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปีก่อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการมีความกังวล มาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งในด้านการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรม และภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังซบเซาทำให้กำลังซื้อลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อเนื่องมาหลายไตรมาส นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนประเมินว่ามีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากการที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่น่าสนใจมาช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนประเมินสถานการณ์ท่องเที่ยวดีกว่าปกติจากการเข้าถึงข้อมูลเรื่องแหล่งท่องเที่ยวมีมากยิ่งขึ้น และกิจกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจจาก ททท. มีส่วนกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ปัจจัยด้านการเดินทางที่สะดวกและง่ายขึ้น รวมถึงการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำยังช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสที่ ๓/๒๕๖๒ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ๙.๗๐ ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๐๖ จากปี ๒๕๖๑ และในปี ๒๕๖๒ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม ๔๐.๐๖ ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๖๕ จากปี ๒๕๖๑
สทท.จึงขอเสนอให้ภาครัฐควรร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านมาตรการสิทธิประโยชน์ด้านภาษี และกิจกรรมการตลาดอื่นๆ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว สนับสนุนให้มีการศึกษาศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว (carrying capacity) ให้ครอบคลุมในทุกขั้นตอนและทุกจังหวัด พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งให้มีทางเลือกที่หลากหลาย และครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนผู้ประกอบการควรมีการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงผลประโยชน์ทางด้านภาษีที่นักท่องเที่ยวจะได้รับจากสถานประกอบการที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย วางแผนการดำเนินธุรกิจที่คำถึงสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การปรับตัวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการในพื้นที่เดียวกัน และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเมืองหลักเมืองรองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบ IT และความพร้อมของบุคลากรที่จะทำหน้าที่ดูแลระบบเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารสองทางและให้บริการด้านข้อมูลและบริการต่างๆ กับนักท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีบริการรถขนส่งสาธารณะในพื้นที่ ที่มีความหลากหลายและครอบคลุมไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
เครดิต ทีมงาน ที่นี่เมืองไทย
โดยสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอลงจากสงครามการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าต่างๆ ทั้งจีนและเม็กซิโก ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศและการลงทุน โดยในระยะสั้นเริ่มเห็นการส่งออกสินค้าของประเทศกลุ่มเอเชียหดตัวสูงโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนสมาร์ทโฟน เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในไตรมาส ๑/๒๕๖๒ ขยายตัวร้อยละ ๒.๘ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง ตามการส่งออกสินค้าที่กลับมาหดตัว ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศยังขยายตัวได้แต่มีแนวโน้มชะลอลงในช่วงที่ยังรอการจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ดี ยังประเมินว่ารายรับภาคการท่องเที่ยวในปีนี้ยังคงขยายตัวและไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากนัก ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ผ่านมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ รวมถึงมีมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวเพิ่มเติมที่สำคัญได้แก่ การขยายระยะเวลามาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า (visa on arrival) ออกไปเพิ่มเติมอีก ๖ เดือน และการอนุญาตให้นำค่าใช้จ่ายเมืองหลักเมืองรองมาลดหย่อนภาษี อัตราแลกเปลี่ยนทรงตัว อัตราเงินเฟอทั่วไปปรับสูงขึ้น ตามราคาผักและผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง รวมถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น และราคาคาโดยสารสาธารณะที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาเนื้อสัตว์ที่อาจสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาขาดแคลนเนื้อหมูในจีนหลังเกิดโรคระบาดส่งผลให้จีนมีการเร่งนำเข้าค่อนข้างมาก
ส่วนการสำรวจความเห็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในไตรมาสที่ ๒/๒๕๖๒ อยู่ที่ ๑๐๐เท่ากับคาดการณ์ไว้จากไตรมาสก่อน สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวที่ค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปีก่อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการมีความกังวล มาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งในด้านการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรม และภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังซบเซาทำให้กำลังซื้อลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อเนื่องมาหลายไตรมาส นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนประเมินว่ามีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากการที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่น่าสนใจมาช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนประเมินสถานการณ์ท่องเที่ยวดีกว่าปกติจากการเข้าถึงข้อมูลเรื่องแหล่งท่องเที่ยวมีมากยิ่งขึ้น และกิจกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจจาก ททท. มีส่วนกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ปัจจัยด้านการเดินทางที่สะดวกและง่ายขึ้น รวมถึงการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำยังช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสที่ ๓/๒๕๖๒ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ๙.๗๐ ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๐๖ จากปี ๒๕๖๑ และในปี ๒๕๖๒ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม ๔๐.๐๖ ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๖๕ จากปี ๒๕๖๑
สทท.จึงขอเสนอให้ภาครัฐควรร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านมาตรการสิทธิประโยชน์ด้านภาษี และกิจกรรมการตลาดอื่นๆ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว สนับสนุนให้มีการศึกษาศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว (carrying capacity) ให้ครอบคลุมในทุกขั้นตอนและทุกจังหวัด พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งให้มีทางเลือกที่หลากหลาย และครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนผู้ประกอบการควรมีการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงผลประโยชน์ทางด้านภาษีที่นักท่องเที่ยวจะได้รับจากสถานประกอบการที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย วางแผนการดำเนินธุรกิจที่คำถึงสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การปรับตัวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการในพื้นที่เดียวกัน และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเมืองหลักเมืองรองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบ IT และความพร้อมของบุคลากรที่จะทำหน้าที่ดูแลระบบเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารสองทางและให้บริการด้านข้อมูลและบริการต่างๆ กับนักท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีบริการรถขนส่งสาธารณะในพื้นที่ ที่มีความหลากหลายและครอบคลุมไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
เครดิต ทีมงาน ที่นี่เมืองไทย
ความคิดเห็น