วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2562 เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมพิธีเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี ณ สถานีท่าพระ เขตบางกอกใหญ่
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระ เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่ก่อสร้างเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ข้ามจากฝั่งพระนครไปยังฝั่งธนบุรี เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจร ทำให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และตรงเวลายิ่งขึ้น โดยมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 27 กม. แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง-บางแค เชื่อมจากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีหลักสอง สิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก ระยะทาง 16 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน จำนวน 4 สถานี ซึ่งเส้นทางระหว่างสถานีสนามไชยถึงสถานีอิสรภาพ จะลอดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 200 ม. อยู่ใต้ระดับท้องแม่น้ำระยะทาง 10 ม. และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 7 สถานี รวมทั้งสิ้น 11 สถานี สำหรับช่วงเตาปูน-ท่าพระ เชื่อมต่อจากรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูนไปยังสถานีท่าพระ ซึ่งจะสิ้นสุดที่บริเวณแยกท่าพระ ระยะทาง 11 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีรวมทั้งสิ้น 8 สถานี ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค มีแนวเส้นทางผ่านสถานีสำคัญในใจกลางกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรี มีการออกแบบก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าให้มีความกลมกลืนกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาและสัญลักษณ์เชิงพื้นที่ เช่น สถานีวัดมังกรมีการออกแบบสถาปัตยกรรมจีนมาผสมผสานกับรูปแบบยุโรป หรือเรียกว่าสไตล์ชิโนโปรตุเกส สอดคล้องกับวิถีชีวิต วิถีการค้าชาวจีน และสภาพแวดล้อมโดยรอบ
ทั้งนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ Bangkok Expressway and Metro (BEM) ได้ดำเนินการตามสัญญาสัมปทาน โดยทยอยเปิดบริการส่วนต่อขยายใหม่ ระยะทาง 27 กม. ตามความพร้อมของการทดสอบการเดินรถ หลังเปิด 1 สถานีเชื่อมกับสถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูนเมื่อวันที่ 11 ส.ค.60 และเมื่อเดือนก.ค.62 ที่ผ่านมา ได้ทยอยเปิดช่วงหัวลำโพง-หลักสอง จนครบ 11 สถานีเมื่อวันที่ 21 ก.ย.62 ประกอบด้วย สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ สถานีท่าพระ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค และสถานีหลักสอง พร้อมทั้งได้จัดเตรียมรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 35 ขบวน จากเดิมมี 19 ขบวน ทำให้มีรถไฟฟ้าสำหรับให้บริการในสายสีน้ำเงินตลอดทั้งโครงข่ายรวมทั้งหมด 54 ขบวน ส่วนอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 16 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท กรณีเดินทางข้ามระบบจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง ตั้งแต่สถานีบางไผ่-สถานีหลักสอง จะมีค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 16 บาท และสูงสุดไม่เกิน 70 บาท พร้อมมีส่วนลดพิเศษสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และนักเรียน นักศึกษา
อย่างไรก็ตามภายในเดือนธ.ค.62 จะเปิดทดลองเดินรถช่วงเตาปูน-ท่าพระ ซึ่งจะไปบรรจบกับสายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค โดยจะเปิดใช้ฟรีถึงวันที่ 30 มี.ค.63 ประกอบด้วย สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานีสิรินธร สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีไฟฉาย และสถานีจรัญสนิทวงศ์ 13 และตั้งแต่เดือนเม.ย.63 จะเปิดบริการครบทั้งระบบทั้งสายเก่าและสายใหม่ ระยะทาง 47 กม. จำนวน 38 สถานี ซึ่งจะทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน และเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนครให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ได้แก่ รถโดยสาร เรือโดยสาร และรถไฟ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน-ท่าพระ เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่ก่อสร้างเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ข้ามจากฝั่งพระนครไปยังฝั่งธนบุรี เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจร ทำให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และตรงเวลายิ่งขึ้น โดยมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 27 กม. แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง-บางแค เชื่อมจากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีหลักสอง สิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก ระยะทาง 16 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน จำนวน 4 สถานี ซึ่งเส้นทางระหว่างสถานีสนามไชยถึงสถานีอิสรภาพ จะลอดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 200 ม. อยู่ใต้ระดับท้องแม่น้ำระยะทาง 10 ม. และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 7 สถานี รวมทั้งสิ้น 11 สถานี สำหรับช่วงเตาปูน-ท่าพระ เชื่อมต่อจากรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูนไปยังสถานีท่าพระ ซึ่งจะสิ้นสุดที่บริเวณแยกท่าพระ ระยะทาง 11 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีรวมทั้งสิ้น 8 สถานี ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค มีแนวเส้นทางผ่านสถานีสำคัญในใจกลางกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรี มีการออกแบบก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าให้มีความกลมกลืนกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาและสัญลักษณ์เชิงพื้นที่ เช่น สถานีวัดมังกรมีการออกแบบสถาปัตยกรรมจีนมาผสมผสานกับรูปแบบยุโรป หรือเรียกว่าสไตล์ชิโนโปรตุเกส สอดคล้องกับวิถีชีวิต วิถีการค้าชาวจีน และสภาพแวดล้อมโดยรอบ
ทั้งนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ Bangkok Expressway and Metro (BEM) ได้ดำเนินการตามสัญญาสัมปทาน โดยทยอยเปิดบริการส่วนต่อขยายใหม่ ระยะทาง 27 กม. ตามความพร้อมของการทดสอบการเดินรถ หลังเปิด 1 สถานีเชื่อมกับสถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูนเมื่อวันที่ 11 ส.ค.60 และเมื่อเดือนก.ค.62 ที่ผ่านมา ได้ทยอยเปิดช่วงหัวลำโพง-หลักสอง จนครบ 11 สถานีเมื่อวันที่ 21 ก.ย.62 ประกอบด้วย สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ สถานีท่าพระ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค และสถานีหลักสอง พร้อมทั้งได้จัดเตรียมรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 35 ขบวน จากเดิมมี 19 ขบวน ทำให้มีรถไฟฟ้าสำหรับให้บริการในสายสีน้ำเงินตลอดทั้งโครงข่ายรวมทั้งหมด 54 ขบวน ส่วนอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 16 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท กรณีเดินทางข้ามระบบจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง ตั้งแต่สถานีบางไผ่-สถานีหลักสอง จะมีค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 16 บาท และสูงสุดไม่เกิน 70 บาท พร้อมมีส่วนลดพิเศษสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และนักเรียน นักศึกษา
อย่างไรก็ตามภายในเดือนธ.ค.62 จะเปิดทดลองเดินรถช่วงเตาปูน-ท่าพระ ซึ่งจะไปบรรจบกับสายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค โดยจะเปิดใช้ฟรีถึงวันที่ 30 มี.ค.63 ประกอบด้วย สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานีสิรินธร สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีไฟฉาย และสถานีจรัญสนิทวงศ์ 13 และตั้งแต่เดือนเม.ย.63 จะเปิดบริการครบทั้งระบบทั้งสายเก่าและสายใหม่ ระยะทาง 47 กม. จำนวน 38 สถานี ซึ่งจะทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน และเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนครให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีจุดเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ได้แก่ รถโดยสาร เรือโดยสาร และรถไฟ
ความคิดเห็น