ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บิ๊กไมเนอร์ชงนายกประยุทธ์ปรับปรุงนโยบาย “Test & Go”

 ✈️🇹🇭 บิ๊กไมเนอร์ชงนายกประยุทธ์ปรับปรุงนโยบาย “Test & Go” ขอให้รัฐบาลยกเลิกการตรวจหาเชื้อครั้งที่2เลิกใช้ระบบ Thailand Pass มั่นใจช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับนักท่องเที่ยวแต่จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวอีกจำนวนมากอยากที่จะมาเที่ยวไทยอีกครั้ง

วันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2565) นายวิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ประธานกรรมการบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือเปิดผนึกถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เรื่องข้อเสนอแนะในการปรับปรุงนโยบาย “Test & Go” โดยระบุว่า

ก่อนอื่นผมใคร่ขอสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาลในกลับมาใช้นโยบายการต้อนรับนักท่องเที่ยวแบบ Test & Go อีกครั้ง ซึ่งผมเองมีความเชื่อมั่นว่าประเทศของเราจะค่อยๆ เริ่มเห็นการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หลังจากที่ความกังวลใจในเรื่องการระบาดของโควิด-19 เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม ผมอยากขออนุญาตแสดงความคิดเห็นบางอย่างเกี่ยวกับวิธีการและแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการเปิดประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยของเราประสบความสำเร็จในการต้อนรับนักท่องเที่ยวกลับมา

เราน่าจะได้เห็นแล้วว่าตั้งแต่เริ่มมีการเปิดประเทศประเทศไทยของเรานั้นไม่ประสบความสำเร็จในการดึงดูดนักท่องเที่ยวกลับมาและหลายสาเหตุนั้นมาจากการที่ประเทศไทยมีกฏเกณฑ์และข้อกำหนดด้านการเข้าประเทศอันเกี่ยวข้องกับการควบคุมและดูแลการระบาดของโควิด-19ซึ่งหลายๆข้อบังคับเหล่านี้อาจไม่มีความสมเหตุสมผลอีกต่อไปแล้วนับตั้งแต่ที่มีการเปิดประเทศจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายรับจากการท่องเที่ยวที่ประเทศได้รับมาจนถึงขณะนี้ ถือเป็นปริมาณที่น้อยมาก หากเทียบกับก่อนที่จะมีโรคระบาดหากเราไม่รีบยกเลิกกฎระเบียบที่ยุ่งยากเหล่านี้อย่างทันท่วงที ประเทศไทยจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังประเทศอื่นๆ ในโลก และภาคการท่องเที่ยวอาจต้องเผชิญกับความสูญเสียที่สูงมากขึ้นไปอีก

เงื่อนไขเพิ่มเติมที่มาพร้อมกับการกลับมาใช้นโยบาย “Test & Go” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ ก่อให้เกิดความท้าทายอย่างมากต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย การขอให้มีการตรวจ RT-PCR ครั้งที่ 2 ในวันที่ 5 ของการเดินทาง โดยนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องเข้าพักในโรงแรมเพื่อรอผลการตรวจ ถือเป็นภาระกับนักท่องเที่ยวที่มากเกินไป หากเทียบกับความปลอดภัยที่อาจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และถึงแม้ว่าภาครัฐจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวสามารถจองโรงแรมคนละแห่งกันในการทำการตรวจหาเชื้อภาคบังคับสำหรับทั้งสองวันนี้ แต่ข้อกำหนดที่บังคับให้มีการจองโรงแรมล่วงหน้าอย่างเข้มงวดนี้ ก็ถือเป็นอุปสรรคต่อการวางแผนการเดินทางของนักท่องเที่ยวอยู่ดี 

รัฐบาลควรยกเลิกการตรวจหาเชื้อภาคบังคับครั้งที่2พร้อมกันกับการเลิกใช้ระบบ Thailand Pass และข้อบังคับด้านการทำประกันโควิด-19 สำหรับนักท่องเที่ยว การแก้ไขดังกล่าวไม่เพียงจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยวแต่การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวอีกจำนวนมากอยากที่จะมาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้ง

นอกจากนี้กระบวนการเปิดประเทศของเราโดยรวมยังมีความไม่สอดคล้องกันในหลายประการซึ่งสร้างความสับสนให้กับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในหลายๆ ครั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมีคำสั่งที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในบางประการทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจผ่านกระบวนการต่างๆ ที่ยืดเยื้อ เพื่อหาข้อมูลมายืนยันเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยทั้งหมดนี้เพื่อให้สามารถทำตามกฏกติกาใหม่ๆ ที่ภาครัฐออกมาได้ โครงสร้างการจัดการตามแนวการกระจายอำนาจที่เป็นอยู่นี้ ทำให้หน่วยงานท้องถิ่นสามารถดำเนินนโยบายที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดต่อหลักและแนวทางการดำเนินธุรกิจทั้งสำหรับผู้ประกอบการโรงแรม นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการอื่นๆ ในภาคการท่องเที่ยว ด้วยเหตุผลดังกล่าว

ผมจึงมีความเห็นว่าเราควรมีระบบที่เป็นศูนย์รวมการสั่งการที่ชัดเจนจากภาครัฐนโยบายอันเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและดำเนินการในระดับประเทศเหมือนดังเช่นที่เราเคยทำมาตลอดในช่วงวิกฤตอื่นๆ ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ ผู้กำหนดนโยบายควรเข้าใจถึงความสำคัญของภาคการท่องเที่ยวอย่างถ่องแท้ และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และกระบวนการใหม่ๆ

ข้อจำกัดต่างๆหลายประการที่ใช้เฉพาะเจาะจงกับนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นอาจไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เนื่องจากการแพร่ระบาดในประเทศของ Omicron ได้กระจายไปในวงกว้างแล้ว การเปิดประเทศจึงควรเป็นในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุด โดยหลีกเลี่ยงกระบวนการที่มีความซับซ้อนยุ่งยาก ซึ่งจะสร้างภาระที่ไม่จำเป็นให้กับนักท่องเที่ยว ประเทศไทยควรเลือกที่จะปฏิบัติตามกฎการเข้าประเทศของจุดหมายปลายทางที่มีเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ เช่น มัลดีฟส์ ดูไบ สหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป

โดยในเวลานี้จุดหมายปลายทางทั้งหลายเหล่านี้เริ่มเห็นการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวในเชิงบวกแล้วและกำลังค่อยๆ กลับไปสู่ระดับก่อนที่จะมีโรคระบาด จากการรวบรวมข้อมูลของเว็บไซต์ sherpa เกี่ยวกับนโยบายและกฏระเบียบในการเข้าประเทศของแต่ละประเทศในเวลานี้พบว่า มีจำนวนประเทศกว่า 100 ประเทศ ที่มีข้อกำหนดในการเข้าประเทศที่เข้มงวดน้อยกว่านโยบายที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่ โดยในหลายๆ ประเทศเหล่านี้ก็มีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่สูงกว่าในประเทศไทยอีกด้วย หากแต่รัฐบาลของพวกเขาเหล่านั้นเลือกที่จะรับมือกับไวรัสโควิด-19 ในฐานะโรคประจำถิ่นแล้ว ทำให้ข้อจำกัดต่างๆ ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ซึ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าประเทศที่มีนโยบายการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ค่อนข้างเสรีจะได้เห็นการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่รวดเร็วและแข็งแกร่งกว่า หากเทียบกับประเทศที่มีนโยบายที่ค่อนข้างเข้มงวด อย่างเช่น ประเทศไทย เป็นต้น

ผมขออนุญาตเน้นย้ำอีกครั้งว่า Thailand Pass ซึ่งเป็นระบบการลงทะเบียนเพื่อขอรับการอนุมัติเข้าประเทศล่วงหน้า ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบมากกว่าเชิงบวก ผมแนะนำว่าประเทศไทยควรยึดตามหลักปฏิบัติที่ใช้กันในหลายๆ ประเทศ รวมถึงสายการบินต่างๆ เช่น การขอหลักฐานการฉีดวัคซีน และผลตรวจโควิด-19 ซึ่งก็นับว่าเพียงพอแล้ว โดยพร้อมกันนี้ ผมได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้ที่ได้มีประสบการณ์เดินทางเข้ามายังประเทศไทยผ่านโครงการ Test & Go ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงการมีความยุ่งยากเกินไป (โปรดดูภาพประกอบในภาคผนวก 1 ด้านล่างเพื่อการอ้างอิง) การยกเลิกกฎระเบียบที่ยุ่งยากเหล่านี้ควรเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญสูงสุด เพื่อเร่งปลดล็อกการฟื้นตัวให้กับภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทย

หลังจากนี้ เราก็อาจจะต้องเผชิญกับการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆ ต่อไป ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นจริง การกลับไปสู่สภาวะการปิดประเทศและล็อกดาวน์อีกครั้งคงเป็นทางเลือกที่เลวร้ายที่สุด ถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับตัวและเรียนรู้ที่จะหาวิธีอยู่กับไวรัสนี้ ผมขอขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับการพิจารณาของท่านนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ หากท่านมีคำถามหรือข้อกังวลอื่นใด ผมหวังว่าจะมีโอกาสได้หารือในรายละเอียดกับท่านต่อไป


ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กรมการท่องเที่ยว นำทีมผู้ประกอบการไทยรับ 23 รางวัล ASEAN Tourism Awards 2024 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เชื่อมั่นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ยกระดับอาเซียน

กรมการท่องเที่ยว นำทีมผู้ประกอบการไทยรับ 23 รางวัล ASEAN Tourism Awards 2024 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เชื่อมั่นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ยกระดับอาเซียน จากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเข้าสู่มาตรฐาน ตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 พ.ศ.2559-2568 (ASEAN Tourism Strategic Plan: ATSP 2016-2025) ซึ่งกรมการท่องเที่ยวมีภารกิจในการพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 56 มาตรฐาน รวมถึงมาตรฐานการท่องเที่ยวอาเซียน ในปีนี้กรมการท่องเที่ยวจึงได้ดำเนินการตรวจประเมินและให้การรับรองแก่สถานประกอบการและชุมชน ตามมาตรฐานการท่องเที่ยวอาเซียนทุกมาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานโรงแรมสีเขียวอาเซียน มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาเซียน มาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน มาตรฐานห้องน้ำสาธารณะอาเซียน และมาตรฐานเมืองท่องเที่ยวสะอาดอาเซียน ทำให้คว้ารางวัลมาได้จำนวน 23 รางวัล เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ได้นำคณะผู้แทนหน่วยงานและผู้ประกอบการเข้าร่วมพิธีการรับรางวัลการท่องเที่ยวอาเซียน ปี ...

โอกาสดี! กรมการท่องเที่ยวชวนชุมชนท่องเที่ยวสมัครเข้ารับการตรวจประเมิน เพื่อรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประจำปี 2567

กรมการท่องเที่ยวเชิญชุมชนท่องเที่ยว สมัครขอรับการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประจำปี 2567 โดยชุมชนที่ผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจะได้รับเกียรติบัตรมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT Thailand Standard) ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของชุมชนในการรองรับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสและรายได้ให้กับชุมชนท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น โดยส่งใบสมัครได้ที่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดในพื้นที่ทั่วประเทศ จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์นี้ นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า “ปัจจุบันการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ด้วยมนต์สเน่ห์และอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมชนบท ประเพณี และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นหรือชุมชน ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรมการท่องเที่ยวจึงดำเนินโครงการตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานชุมชนท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยปีนี้ตั้งเป้าว่าจะมีชุมชนสมัครเข้ารับ การตรวจประเมินและผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 70 ราย ทั้งนี้ ชุมชนที่ผ่านการประเมินจะได้รับเกียรติบ...

วันสาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic Day)

วันสาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic Day) วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 18.30 น ณ โรงแรมโฟร์ซีซั่นกรุงเทพ  เขตบางรัก นายสิทธิชัย อุดมกิจธนกุล และนายกำแหง ตันกำแหง ผู้บริหาร บจก. ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์ ได้รับเกียรติจาก นายเปาโล ดีโอนีซี (H.E. Mr. Paolo Dionisi) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย  และภริยา เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวันชาติอิตาลี ครบรอบ 78 ปี ภายในงานมีผู้เข้าร่วมงานทั้งทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชน อาทิเช่น นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงมหาดไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายทวี สอดส่อง รมว.กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีได้ยกเลิกระบอบราชาธิปไตยและถือกำเนิดเป็นสาธารณรัฐในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 หลังการทำประชามติที่ได้ยุติการปกครองโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ของอิตาลีลง จึงมีการเฉลิมฉลองวันที่ 2 มิถุนายนของทุกปีในฐานะวันสาธารณรัฐ