เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกลินท์ สารสิน ประธานกิตติมศักดิ์ฯ นำคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ เข้าพบ คุณสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย ณ ห้องประชุมกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อหารือด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย โดยมีประเด็นการส่งเสริมภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ดังนี้
(1)เพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มีให้เกิดการใช้จ่ายที่สูงขึ้น (More Spending) ทั้งการยกระดับ Supply Side ด้วย Happy Model ผ่านกิจกรรม 90 เส้นทางท่องเที่ยวแห่งความสุข การพัฒนาสินค้า Happy in Style โครงการ HUG Earth และการใช้ Application TAGTHAi ให้เป็น แพลตฟอร์มกลาง แพลตฟอร์มเดียว ด้านการท่องเที่ยวของประเทศ และการอำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยวต่างชาติในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม�ในท่าอากาศยานนานาชาติ โดยให้แสดงสินค้าในตอนขาออกเหลือเพียง 1 ที่ (จากปัจจุบันคือ 2 ที่ ทั้งที่เคาท์เตอร์ศุลกากรด้านนอกและแสดงอีกครั้งที่เคาท์เตอร์สรรพากรด้านใน)
(2)เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ (More Quality Market) ได้แก่
2.1 ผลักดันให้งาน MICE มาจัดในประเทศไทย โดยให้หน่วยงานภาครัฐผลักดันอย่างน้อยหน่วยงานละ 1 งาน และผลักดันมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาโดยขอรับมาตรการภาษี 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง
2.2 การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ (Cruise) โดยจัดให้มี Cruise Master Plan End Game 2030: Thailand as a World Class Home Port
2.3 ขับเคลื่อนเมืองภูเก็ตสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งไลฟ์สไตล์ของเอเชีย Phuket Free Port ส่งเสริมภูเก็ตเป็นเมืองปลอดอากร กระตุ้นการบริโภคผ่านการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง
(3)สร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ (More Support) ได้แก่
3.1 ผลักดันขยายเวลาลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน สำหรับเครื่องบินไอพ่นเหลือ 0.20 บาทต่อลิตร เป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป
3.2 ผลักดันปรับหลักเกณฑ์อัตราการเบิกค่าใช้จ่ายระเบียบกระทรวงการคลังฯ ได้แก่ ระเบียบ�เบิกอัตราค่าอาหารในการฝึกอบรมในประเทศ ขอปรับเพิ่มขึ้น 40% ของอัตราเดิม และระเบียบเบิกอัตราค่าเช่าที่พักในการฝึกอบรมในประเทศ ขอปรับเพิ่ม 200 บาท ในทุกระดับการฝึกอบรม
3.3 Soft loan สำหรับการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ โดยผลักดันมาตรการสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ SMEs ด้านท่องเที่ยวในการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงการพัฒนาที่คำนึงถึงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม (Green Loan) และสนับสนุน Soft loan สำหรับผู้ประกอบการรถนำเที่ยวในการปรับปรุงรถ ไม่เกิน 200,000 บาทต่อคัน โดยใช้รถเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
3.4 ผลักดันการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยมีแนวทางการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยจัดทำแบบบูรณาการในหลายแนวทางทั้งระยะสั้น และระยะยาว อาทิ ขยายผลการใช้ MOU แรงงานต่างด้าว แบบเดิมให้ครอบคลุมประเภทงานและประเทศเป้าหมาย การคิดค่าจ้างรายชั่วโมงทำงานเพื่อรองรับกลุ่มเยาวชนและผู้สูงอายุ การใช้สถานประกอบการเป็นโรงเรียน จัดทำการเรียนการสอนและฝึกงานในสถานประกอบการ และการขยายผล Non-Immigrant Visa B สำหรับชาวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาที่ประเทศไทยเพื่อทำงานได้อย่างถูกต้อง
โดยคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย คุณบุษบา จิราธิวัฒน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, คุณธเนศ วรศรัณย์ ประธานคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, คุณศุภวรรณ ถนอมเกียติภูมิ รองประธานคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, คุณกรด โรจนเสถียร รองประธานคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, คุณกฤษณ์ ณ ลำเลียง กรรมการคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, คุณวัฒนา โชคสุวณิช กรรมการคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, คุณชัญญา ปวีณเมธา กรรมการ คณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, คุณเพลินพิศ โกศลยุทธสาร กรรมการคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, ดร.วสุเชษฐ์ โสภณเสถียร กรรมการคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง, คุณฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย, คุณทสม์ เจริญช่าง ประธาน YEC จังหวัดสมุทรสงคราม และ Ambassador Happy Model, คุณเพิร์ล สถาววราวงศ์ YEC จังหวัดชลบุรี และ Ambassador Happy Model, คุณศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ Executive Advisor TDP (TAGTHAi), คุณกิติยา ฤกษ์ภูริทัต Senior Advisor TDP (TAGTHAi), คุณรัตนา พรหมมาสายสกุล เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย
#90ปีหอการค้าไทย #Thaichamber #หอการค้าไทย #สร้างความเชื่อมั่น #ร่วมกันสร้างสรรค์ #ช่วยกันผลักดัน #ConnectTheDots
ความคิดเห็น